ค้นหา

 การพัฒนาวิธีการคัดกรองผู้ป่วยอัลไซเมอร์
รหัส : rpcd0174
โครงการ : การพัฒนาวิธีการคัดกรองผู้ป่วยอัลไซเมอร์
Project : Development of the Screening Methods for Alzheimer's disease
ประเภทการวิจัย : การวิจัยประยุกต์
งบประมาณ : -
ปีที่สิ้นสุด : N/A
สาขา NRCT : สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
หน่วยงานระดับกรม :
หน่วยงานระดับกระทรวง : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอบเขตการวิจัย : ใน การพัฒนาแบบคัดกรองผู้ป่วยอัลไซเมอร์ผู้วิจัยจะนำแบบคัดกรองมาตรฐาน 7-Minute Screen (7MS) ซึ่งได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้ได้ใน Primary Care Setting โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ใช้เวลาในการประเมินน้อย สามารถใช้ได้ง่าย (ผู้ประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ หรือนักจิตวิทยา) มีการทดสอบว่ามีความไวและความจำเพาะต่อโรคอัลไซเมอร์สูง มาแปลเป็นภาษาไทย ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และนำมาทดสอบการใช้หาความเชื่อมั่น ความไวและความจำเพาะต่อโรคอัลไซเมอร์โดยเทียบกับ Gold Standard คือแบบประเมิน Alzheimer's Disease Assessment Scale-Cognitive Part (ADAS-Cog) และ Mini-mental State Exam (MMSE)   กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ได้แก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วยผู้ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย ว่ามีภาวะสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ และมีอาสาสมัครบางส่วนเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์ (probable AD) ที่มีระดับความรุนแรงน้อย (Mild) ตามเกณฑ์การประเมิน Clinical Dementia Rating  สำหรับการตรวจระดับ MDA และ 4-HNE ในเลือดเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณผู้วิจัยจะสุ่มทดสอบจากอาสาสมัครเพียง บางส่วน
วัตถุประสงค์ :
  1. เพื่อนำแบบคัดกรองมาตรฐาน 7-Minute Screen ของต่างประเทศมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย นำมาทดสอบความตรง ความน่าเชื่อถือในการประเมิน
  2. เพื่อทดสอบหาความไว และความจำเพาะในการคัดกรองโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุโดยเปรียบเทียบกับ Gold Standard คือแบบประเมิน Alzheimer's Disease Assessment Scale-Cognitive Part (ADAS-Cog) และ Mini-mental State Exam (MMSE)  
  3. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ 4-Hydroxynonenal (4-HNE) และ Malondialdehyde (MDA)ในเลือดกับผลการประเมิน ADAS-Cog และ MMSE
  4. เพื่อเปรียบเทียบว่าการคัดกรองโดยใช้ 7-Minute Screen ฉบับภาษาไทย กับการตรวจ 4-HNE และ MDA จากเลือด วิธีใดจะมีความไวและความจำเพาะต่อโรคอัลไซเมอร์มากกว่ากัน
นักวิจัย :

สมพร สังขรัตน์




สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ที่อยู่: 196 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900
ดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน  อีเมลล์ : ridm@nrct.go.th